วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Faculty of Law Ramkhamhaeng University




คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยรามคำแหง กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหงอาศัยข้อบังคับและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประเทศไทยในอดีตและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้ตอบสนองความต้องการของคนในสังคมด้วยการเปิดโอกาสทางการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้อย่างมีคุณธรรมเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ปัจจุบันคงเปิดดำเนินการและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลตอบรับที่ดีและการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
รับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ภาคพิเศษวิทยาเขตบางนา
เรียนวันอังคาร-พฤหัส
เปิดรับสมัครตั้งแต่ วันที่ 2 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
รับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ เรียน ราม1 รุ่นที่ 10

โครงการหลักสูตรปริญญานิติศาสตรบัณฑิต 


ภาคพิเศษ (เรียนเสาร์ - อาทิตย์)



เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาตรี ภาคพิเศษเสาร์-อาทิตย์ รุ่นที่ 10

ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2558

สถานที่เรียน 
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพมหานคร

การจำหน่ายใบสมัครและการรับสมัคร
จำหน่ายใบสมัคร วันที่ 6 – 31 พ.ค. 2558
(เว้นวันที่ 13 พ.ค. 2558)
วันรับสมัคร วันที่ 6 – 15 มิ.ย. 2558
สถานที่จำหน่ายใบสมัครและรับสมัคร
จำหน่ายใบสมัคร และรับสมัคร ห้อง 1101 ชั้น 1 อาคาร 1 คณะ
นิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมากบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
    
                        จำนวนนักศึกษาที่เปิดรับ
เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษา รุ่นที่ 10 จำนวน 120 คน
วิธีการสมัคร
1. การสมัครด้วยตนเองที่มหาวิทยลัยรามคำแหง
                      
     ขั้นตอนและวิธีการสมัครเป็นนักศึกษาด้วยตนเองที่มหาวิทยาลัย

      อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าลงทะเบียนเรียน และค่าบำรุงการศึกษาชั้นปริญญาตรี


1. ค่าลงทะเบียนเรียนเป็นรายหน่วยกิตๆ ละ
  25 บาท
2. ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษา
  60 บาท
3. ค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นนักศึกษา
500 บาท
4. ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
300 บาท
5. ค่าสมาชิกหนังสือพิมพ์ข่าวรามคำแหงภาคละ
100 บาท
6. ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
300 บาท
7. ค่าเทียบโอนหน่วยกิต
7.1 หน่วยกิตสะสมเดิมจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ทุกกรณี) หน่วยกิตละ
7.2 หน่วยกิตอนุปริญญาขึ้นไปจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น หน่วยกิตละ

  50 บาท
100 บาท

3. การสมัครทางอินเตอร์เน็ต ที่ www.iregis.ru.ac.th 

การชำระเงินสำหรับผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 
(กรณีสมัครด้วยตนเอง)

 จำนวนหน่วยกิต
 ค่าลงทะเบียน
 ค่าบำรุง
 ค่าธรรมเนียมแรกเข้า
 ค่าบัตรนักศึกษา
 ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษา
 ค่าสมาชิกข่าวรามฯ
 รวมเงิน
 1
 25
 300
 500
 60
 300
 100
 1285
 9
 225
 300
 500
 60
 300
 100
 7485
 12
 300
 300
 500
 60
 300
 100
 1560
 18 
 450
 300
 500
 60
 300
 100
 1710
 24
 600
 300
 500
 60
 300
 100
 1860
หลักสูตรการศึกษา

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการศึกษาโดยใช้แบบการศึกษาเปิดแบบตลาดวิชา ให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ทุกคนที่ใฝ่หาความรู้ เปิดทำการเรียนการสอนใน 3 หลักสูตร ดังต่อไปนี้
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (นบ.)
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (นม.)
หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นด.)



หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


1.
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิต

2.
โครงสร้างหลักสูตรมีดังนี้
หมวดวิชา
จำนวนหน่วยกิต
จำนวนร้อยละ
17.2.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
31
22.14
17.2.2 หมวดวิชาเฉพาะ
103
73.57
17.2.2.1 กลุ่มวิชาบังคับ
94
(67.14)
17.2.2.2 กลุ่มวิชาเลือก
9
(6.43)
17.2.3 หมวดวิชาเลือกเสรี
6
4.29
รวมจำนวนหน่วยกิต
140
100



 
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านกฎหมายและมีคุณธรรม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

 1. 
เพื่อให้การผลิตบัณฑิตมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา
ระดับอุดมศึกษาของชาติ อีกทั้งสอดคล้องกับปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษา
และมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ ฒนาการศึกษา
 2.
เพื่อให้บัณฑิตมีความรอบรู้กฎหมาย ทั้งในภาคทฤษฎีและในภาคปฏิบัติ
 3.
เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางกฎหมายในอันที่จะนําไปสู่การผลิตบัณฑิตทาง
นิติศาสตร์ที่มีความเชี่ยวิชา
 4.
เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการรับ
ผู้มีความรู้ทางกฎหมายเฉพาะด้าน เข้าทํางานเมื่อสําเร็จการศึกษา
 5.
เพื่อผลิตนักกฎหมายที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตสํานึกสาธารณะ



จบแล้วไปทำงานอะไรได้บ้าง?
ส่วนใหญ่บัณฑิตนิติศาสตร์จะไปทางสายราชการ ถ้าเป็นสายตรงเป้าหมายคือ ท่านผู้พิพากษา อัยการ
เป็นอาชีพที่มีเกียรติมาก รายได้ดี แต่ก็ยากมากเช่นกัน เพราะจบแล้วจะต้องไปสอบเนติบัณฑิต หรือที่เรียกว่าว่าสอบเนฯที่ทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าหินและโหดมาก แต่ละปีจะมีผู้สอบผ่านประมาณ 7% เท่านั้น รอให้อายุครบยี่สิบห้า พร้อมคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการตุลาการกำหนด เช่น เคยว่าความมาแล้วกี่คดี เรียนปริญญาโทมาแล้วกี่ปีวิชาอะไรบ้าง จึงสามารถไปสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา หรืออัยการผู้ช่วย ซึ่งคนที่สอบได้มี
ประมาณ 1 - 3% ของคนที่ผ่านเนติบัณฑิตเท่านั้น คนที่จะประสบความสำเร็จตามเป้าได้ต้องตั้งใจอย่างแรงกล้าและต้องทุ่มเทแล้วยังเป็น ทนายความ ซึ่งต้องสอบใบอนุญาตว่าความจากสภาทนายความก่อน และยังสามารถเป็นนิติกร ฝ่ายกฎหมายภายในบริษัทต่างๆ ที่ปรึกษาทางกฎหมาย นักการเมือง 
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัด ตำรวจ และอาชีพอื่นๆ ที่ต้องใช้ความรู้ทาง
กฎหมาย ทั้งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน